
การฝังเข็ม
วันที่ 2010/2/19 8:58:56 | หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
| การฝังเข็ม
การฝังเข็ม เป็นการกระตุ้นให้เลือด ลมไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น เมื่อหลอดลมผ่านได้คล่องอาการเจ็บปวดต่างๆ ก็ค่อยๆหายไปเพราะร่างกายของคนเราถึงแม้ว่าเราจะบอกได้ว่าปวดเฉพาะที่จุดใด จุดหนึ่ง แต่การรักษาแบบองค์รวม ไม่ได้มองแค่จุดที่ปวด แต่มองว่าร่างกายทุกส่วนสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันหมด ฉะนั้นการรักษาก็ต้องรักษาทั้งระบบ
แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ปักลงไปบนตำแหน่งจุดต่างๆของร่างกายแล้วกระตุ้นโดยการใช้นิ้วมือหมุนปั่น หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นระบบประสาทของร่างกาย ช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ สามารถทำงานได้สมดุลเป็นปกติจึงสามารถรักษาโรคและบรรเทาอาการผิดปกติต่างๆ ได้ โดยทั่วไปแพทย์จะปักเข็มคาเอาไว้ประมาณ 15-20 นาที แล้วจึงถอนเข็มออก การเลือกเข็มมาใช้ต้องให้เหมาะกับสรีระและตำแหน่งที่จะฝังเข็มเป็นหลักเพราะ ถ้าหากใช้เข็มที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยแล้ว เวลาฝังในจุดต่างๆ อาจเกิดอันตราย และเข็มที่ใช้ก็ต้องผ่านการฆ่าเชื้อใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการมีความปลอดภัยมากขึ้น ความแตกต่างของการฝังเข็มแบบสมัยใหม่กับการฝังเข็มแบบดั้งเดิม คือ
* การฝังเข็มแบบสมัยใหม่ โดยปกติแล้วจะใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำ เพื่อกระตุ้นการรักษา วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายมากโดยปกติแล้วหลังจากการฝึกอบรมมาแล้ว 3 เดือน นักฝังเข็มสามารถใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยได้ทันที แต่ว่าผลที่ออกมาอาจไม่ได้ผลดีที่สุดรูป: การแพทย์แผนจีนสามารถรักษา อัมพาต อัมพฤกษ์ แขน-ขาอ่อนแรง และป้องกันเส้นเลือดสมองตีบตัน เส้นเลือดสมองแตกเกิดอัมพาต อัมพฤกษ * วิธีฝังเข็ม แบบดั้งเดิม ต้องมีพื้นฐานที่ดีตามหลักทฤษฎีและปรัชญาของจีน รวมไปถึงจะต้องรู้หลัก ของ “ไทเก็ก” “หยินหยาง” “ธาตุทั้ง 5” “ปากั้ว” และวงจรการไหลเวียนของเลือด นักฝังเข็มจำเป็นจะต้อง “ชี่กง” และรู้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นพลังงานภายในที่สามารถถ่ายทอดสู่ผู้ป่วยอย่างได้ผลเต็มที่ การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีสำหรับการ บรรเทาการเจ็บปวดของโรคต่างๆโดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย * ที่โรงพยาบาลปิยะเวท นักฝังเข็มได้ใช้วิธีนี้ ช่วยผู้หญิงที่คลอดบุตรยาก ให้คลอดง่ายและสุขภาพแข็งแรง * การรักษาด้วยการฝังเข็มสามารถช่วยได้ในกรณี ของผู้หญิงที่เป็นหมันให้สามารถมีบุตรได้ รวมถึง โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ปวดหัวเข่า ข้อเข่าเสื่อม ข้อหัวไหล่ติด
โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
องค์การอนามัยโลก ระบุว่าโรคมีหลายชนิด หลายกรณีที่สามารถทำการรักษาได้โดยแพทย์แผนจีน โดยโรคและอาการที่พบบ่อยๆ มีดังนี้
* อัมพาต อัมพฤกษ์ แขน-ขาอ่อนแรง * ป้องกันเส้นเลือดสมองตีบตัน เส้นเลือดสมองแตกเกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ * ปวดศีรษะ * นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล * ท้องผูก * โรคบริเวณใบหน้า ปวดสามแฉก บริเวณใบหน้าครึ่งซีก หนังตาไม่ปิด ปากเบี้ยว หน้าชา อัมพฤกษ์ ใบหน้าครึ่งซีก หน้ากระตุก ปวดกราม ขากรรไกรค้าง อ้าปากไม่ขึ้น * โรคกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ กระดูก และปลายประสาทชา กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดข้อรูมาตอยด์ ชาปลายมือ ปลายเท้า ตะคริว ปวดหลัง ปวดร้าวชาด้านหลัง ด้านข้างขวา ชานิ้วเท้า ปวดตะโพก ข้อตะโพกเสื่อม ปวดหัวเข่า เข่าบวม ข้อหัวเข่าเสื่อม ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าพลิก * หอบหืด * ปวดทรวงอก * ปวดจากมะเร็ง เนื้องอก ปวดแผลผ่าตัด * ท้องเสีย ลำไส้อักเสบเรื้อรัง * แพ้ท้อง อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ * เบาหวาน และภาวะแทรกซ้อน ปลายเท้าคล้ำดำ ชาปลายมือปลายเท้า * ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง * ลดความอ้วน ลดความอ้วนหลังคลอด ลดไขมันเฉพาะที่ตะโพก ต้นขา น่อง ต้นแขน ท้องแขน * เพิ่มน้ำหนัก คนผอม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง * บำรุงสุขภาพคนในวัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ * ลมบ้าหมู * บวมน้ำ * ลโรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก พาร์กินสัน หลงลืม ความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ * โรคสูติ-นรีเวช ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช้า เร็ว มาไม่แน่นอน ประจำเดือนไม่มา มดลูกหย่อน ชำรั่ว ก้อนเนื้อเต้านม * วัยทอง ทั้งหญิงและชาย * มีบุตรยาก * เสื่อมสมรรถภาพทางเพศู * โรคภูมิแพ้ * ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ท้องแขน ฝ้า กระ สิว ผมร่วง เส้นเลือดขอด * ปวดเมื่อยล้าอ่อนเพลียเรื้อรัง
สมุนไพรจีน รูปภาพ: แพทย์แผนจีนจะจัดสมุนไพรจีนให้ตามอาการของโรค เพื่อช่วยในการรักษาและช่วยให้ร่างกายปรับสภาพสมดุลทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น
แพทย์แผนจีนจะนำสมุนไพรจีน จะนำสมุนไพรจีนมาใช้ในการรักษาโรคควบคู่กับการฝังเข็ม สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาแพทย์แผนจีนจะจัดสมุนไพรจีนให้ตามอาการ ของโรค เพื่อช่วยในการรักษาและช่วยให้ร่างกายปรับสภาพสมดุลทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ ดีขึ้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แพทย์แผนจีนใช้รักษาอยู่ในปัจจุบัน การนวดทุยนาTui - Na Massage
ทุยนา เป็นวิธีการรักษาโรคแบบธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีในศาสตร์แผนจีน ถือว่าเป็นหนึ่งในอีกหลายวิธีของการรักษาโรค โดยเน้นการปรับภาวะประสาท หยินกับหยางให้เกิดสมดุล และแก้ไข บำรุงการเจริญเติบโตของ NGF, EGF และ GM-CSF ต่างๆภายในร่างกายของคน สำหรับในประเทศจีนเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีประวัติหลายพันปีมาแล้ววิทยา ศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันนี้ยืนยันว่า”การปลดปล่อยโดยขจัดความเจ็บปวดของ NGF ฯลฯ สามารถช่วยขับพิษออกจากร่างกายของผู้ป่วย” ดังนั้นทุยนาจึงมีบทบาทในการรักษาโรคกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นโดยเน้นลดความ เจ็บปวดจากการอักเสบและเกร็งอย่างได้ผลในคนที่นอนไม่หลับ และในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ขณะเดียวกันยังเป็นวิธีการรักษาที่ป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย
สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมติดต่อนัดหมายได้ที่ ศูนย์การแพทย์แผนจีน
ที่มา ศูนย์การแพทย์แผนจีนโรงพยาบาลปิยะเวช
|
|